บ้านเดี่ยวชั้นเดียวราคา 1 ล้าน สร้างเสร็จแล้ว จะสวยแค่ไหนลองไปดูกัน

Pattareeya Pattareeya
บ้านพักอาศัยชั้นเดียว จ.เชียงใหม่, สำนักงานสถาปนิกอนุชา สำนักงานสถาปนิกอนุชา
Loading admin actions …

บ้านชั้นเดียวด้วยงบประมาณการก่อสร้างราคา 1 ล้านบาท บางคนบอกว่าแพง บางคนบอกว่าถูก ทั้งนี้คงต้องดูจากหลายๆ องค์ประกอบ ทั้งขนาดบ้าน ความยากง่ายในการก่อสร้าง ชนิดและคุณภาพของวัสดุ เรื่อยไปถึงค่าแรงในแต่ละพื้นที่ จะคุ้มไม่ค้มอย่างไร ความพีงพอใจของเจ้าของบ้านน่าจะพอตัดสินได้

สำหรับบ้านที่นำมาให้ชมกันในไอเดียบุคนี้ เป็นบ้านอีกหลังหนึ่งซึ่งสร้างขึ้นด้วยงบประมาณ 1 ล้านบาท โดย สำนักงานสถาปนิกอนุชา บริษัทสถาปนิกในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นบ้านชั้นเดียวที่นำองค์ประกอบงานสถาปัตย์แบบไทยๆ มาประกอบเข้ากับตัวบ้านสมัยใหม่ เรียกได้ว่าเป็นสไตล์การออกแบบที่บริษัทแห่งนี้ถนัดทีเดียว

เราตามไปดูไทม์ไลน์กันดีกว่าว่า หลังจากออกแบบแล้วเริ่มสร้างบ้านจริงในเดือนกันยายน 2551 ราว 5 เดือนต่อมา บ้านที่ได้ออกมาจะมีหน้าตาอย่างไร

แบบบ้าน 3 มิติ

แบบบ้าน 3 มิตินี้คือแบบที่เกิดจากการพูดคุยของผู้ว่าจ้างสร้างบ้านกับทีมสถาปนิกมาเรียบร้อยแล้ว เกิดเป็นแบบบ้านที่มีรูปทรงสถาปัตยกรรมแบบผสมผสาน คือเป็นบ้านสไตล์คอนเทมโพรารี่ที่มีกลิ่นอายของบ้านไทยในส่วนหลังคาและเสา หลังคาบ้านทำเป็นหลังคาทรงมะนิลา ซ้อนเหลื่อมกันตรงช่วงกลางของบ้าน ส่วนเสานอกบ้านนั้น ทำเป็นเสาที่มีคันทวยค้ำใต้หลังคาแบบไทย

หลังจากขั้นตอนการออกแบบ การคำนวณต่างๆ และการวางแผนงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้ก็จะเป็นขั้นตอนการก่อสร้างที่สถาปนิกยังต้องควบคุมให้เป็นไปตามแบบและแนวคิด จนกว่าจะออกมาเป็นบ้านสำเร็จนั่นเอง

13 กันยายน 2551 วางผัง ขุดหลุมทำฐานราก

หลังการประเมินรูปแบบทางกายภาพของที่ตั้งโปรเจ็กต์กันไปแล้วตั้งแต่ออกแบบ คราวนี้เมื่อจะต้องลงมือก่อสร้างจริง ก็เป็นเวลาที่ทีมงานจะต้องมาจัดการกับพื้นที่ตั้งบ้านอีกครั้ง จากนั้นก็เป็นการวางผัง ขุดหลุมเพื่อรองรับเสาเข็มและโครงสร้างต่างๆ เพื่อทำส่วนฐานรากบ้านที่มั่นคง

30 กันยายน 2551 แบบเสา คสล.

มาสู่ส่วนสำคัญในการสร้างบ้านซึ่งต้องได้รับการใส่ใจและเน้นความถูกต้องเป็นพิเศษ นั่นคือการวางโครงสร้างบ้านส่วนเสาและคาน ซึ่งหมายถึงความแข็งแรงมั่นคงของบ้านทั้งหลัง 

ทั้งนี้โครงสร้างบ้านหลังนี้เป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่สามารถขึ้นรูปได้หลากหลาย แต่ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบในขั้นตอนต่างๆ ทั้งการผูกเหล็ก การทาบเหล็ก การเทคอนกรีต การบ่มคอนกรี่ต ที่ต้องตรวจเช็คอย่างแม่นยำ ขณะที่ช่างก่อสร้างและช่างผู้คุมงานก็ต้องมีความรับผิดชอบในการสร้างโครงสร้างนี้ขึ้นมาอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2551 ติดตั้งโครงหลังคาเหล็ก

ลักษณะอย่างหนึ่งของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กคือต้องอาศัยเวลารอคอนกรีตเซ็ทตัว เพื่อความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างบ้าน จากนั้นก็ถึงขั้นตอนต่อมา คือการขึ้นโครงหลังคาเหล็ก ก่อนช่างมุงหลังคาจะได้ทำงานต่อไป

เช่นเดียวกับขั้นตอนการสร้างบ้านอื่นๆ การขึ้นโครงเหล็กหลังคาบ้านเป็นอีกงานที่ต้องอาศัยความถูกต้อง ตั้งแต่การเตรียมเหล็กอาบน้ำยาให้พร้อม มีการวางโครงให้แม่นยำ ขั้นตอนการเชื่อมทับรอยต่ออีกครั้งหนึ่งเพื่อความแน่นหนา แล้วยังต้องเก็บงานป้องกันสนิมอีก ไม่ว่าจะเป็นโครงหลังคาเหล็ก หรือโครงหลังคาสำเร็จรูป จึงเป็นอีกขั้นตอนที่ต้องใช้เวลาเช่นกัน

15 ธันวาคม 2551 ก่อผนังอิฐมวลเบา

อิฐก่อผนังเป็นส่วนประกอบบ้านอีกส่วนที่มีผลต่องบประมาณการก่อสร้าง สำหรับบ้านหลังนี้ แม้อิฐมวลเบาจะมีราคามากกว่าอิฐมอญ แต่ถ้าเทียบกันในเรื่องระยะเวลาการก่อสร้าง อิฐมวลเบาที่มีแผ่นใหญ่กว่าย่อมทำให้งานเสร็จเร็วกว่าเกือบ 3 เท่า เป็นการประหยัดค่าแรงช่างก่อสร้างไปได้อีกทางหนึ่ง 

ประโยชน์ของอิฐมวลเบาอีกอย่างคือมีน้ำหนักเบา ทำให้บ้านไม่ต้องรับน้ำหนักผนังมาก นอกจากนี้ยังเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี ช่วยให้บ้านเย็นสบาย และเก็บเสียงกว่าอิฐมอญอีกด้วย (ยกเว้นจะก่อผนังด้วยอิฐมอญแบบก่อ 2 ชั้น แล้วเว้นที่ว่างระหว่างชั้นทั้งสอง ซึ่งกรณีหลังจะกันความร้อนได้ดีกว่า)

ทั้งนี้อิฐมอญและอิฐมวลเบาก็ล้วนมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป สำหรับใครที่ชื่นชอบการตกแต่งผนังบ้านด้วยอิฐมอญ เราก็มีไอเดียดีๆ มาฝากกัน บ้านเดี่ยว 2 ชั้น สวยแบบอิฐโชว์แนว เป็นอีกสไตล์การก่อสร้างที่ทำให้บ้านดูอบอุ่นไม่น้อยเลยทีเดียว

28 มกราคม 2552 ด้านหลังบ้านและหน้าบ้าน งานฉาบผนัง

หลังจากก่อผนังเรียบร้อย รอจนทุกอย่างเซ็ทตัวดี ก็ได้เวลาฉาบผนัง ทั้งนี้เนื่องจากบ้านหลังนี้ใช้อิฐมวลเบาก่อผนัง วัสดุที่นำมาฉาบจึงต้องเป็นปูนฉาบที่ใช้กับอิฐมวลเบาโดยเฉพาะเช่นเดียวกับปูนก่อ

นอกเหนือจากนี้ เนื่องจากเริ่มเหลือเวลาในการปลูกสร้างบ้านตามสัญญาไม่มากแล้ว ทีมงานจึงต้องรีบเก็บรายละเอียดงานอื่นๆ ตรงหน้าบ้านและหลังบ้านให้เรียบร้อยด้วย เพื่อเตรียมติดตั้งส่วนอื่นในเวลาต่อมา

20 กุมภาพันธ์ 2552 งานติดตั้งบานประตู-หน้าต่าง งานฝาเพดานทั้งหมด งานติดตั้งระบบไฟฟ้า

ส่วนอื่นที่พูดถึงก็คือ การติดตั้งบานประตู หน้าต่าง และงานฝ้าเพดานทั้งหมด ซึ่งเป็นอีกงานที่ต้องใช้ความละเอียดไม่แพ้กัน ทั้งนี้หากมีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนใยแก้วที่ฝ้าเพดานเพื่อกันความร้อนจากหลังคาเข้าสู่ตัวบ้านด้วยแล้ว ยิ่งต้องควรคำนวณเวลาเผื่อตรงนี้ไว้ด้วย

หลังงานกรอบบ้านเสร็จ ก็ถึงเวลามาเติมส่วนอำนวยความสะดวกที่ขาดไม่ได้ อย่างการติดตั้งระบบไฟฟ้าในบ้าน ที่ต้องอาศัยความแม่นยำและระมัดระวัง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทุกจุดเป็นไปอย่างไร้ที่ติ ก่อนที่ผู้ว่าจ้างจะได้ตรวจเช็คความเรียบร้อยต่างๆ ของตัวบ้านต่อไป

Нужна помощь с проектом дома?
Обратитесь к нам!

Последние статьи